• RSS ฟีดที่ไม่รู้จัก

    • มีความผิดพลาดเกิดขึ้น feed อาจใช้งานไม่ได้ชั่วคราว ลองใหม่อีกครั้งภายหลัง
  • RSS ฟีดที่ไม่รู้จัก

    • มีความผิดพลาดเกิดขึ้น feed อาจใช้งานไม่ได้ชั่วคราว ลองใหม่อีกครั้งภายหลัง

The Hope

เพชร “โฮป” เพชรสีน้ำเงินเข้มเม็ดนี้ เป็นอีกหนึ่งตำนานที่ได้รับการกล่าวขานมาเนิ่นนาน ค่อนข้างจะโด่งดังกว่าเพชรเม็ดอื่น ด้วยประวัติที่หวือหวามาก และที่ฮือฮากันมากที่สุด เห็นจะเป็นเรื่องความเชื่อที่ว่า เพชรเม็ดนี้ต้องคำสาป โดยมีตำนานเล่าว่า เพชรโฮปมาจากดวงตาของเทวรูปในวัดริมแม่น้ำโคลรูน (Coleroon) ในอินเดีย เพชรน้ำหนัก 112 กะรัต เม็ดนี้ ถูกขุดพบในเหมืองคอลเลอร์ (Kollur mine) ในกอลคอนดา เป็นเพชรที่หายากและมีสีน้ำเงินเหมือนสีไพลิน

ชอง-แบปตีส ตาแวร์นีเย (Jean-Baptist Tavernier) พ่อค้าเพชรชื่อดังชาวฝรั่งเศส ซื้อเพชรนี้มา และลักลอบนำเข้าไปยังกรุงปารีสใน ค.ศ. 1668 ต่อมาใน ค.ศ. 1669 ตาแวร์นีเยขายเพชรให้แก่พระเจ้าหลุยส์ ที่14 ด้วยราคา 3,000,000 ปอนด์ เพชรโฮปนี้จึงได้รับการเจียระไนเป็นรูปหยดน้ำรูปทรงสามเหลี่ยมหนัก 67.5 กะรัต โดยนายช่างเปเตออง (Petean) และเป็นที่รู้จักหลายชื่อ ไม่ว่า “เพชรตาแวร์นีเยสีฟ้า” (The Tavernier Blue) เพชรสีน้ำเงินฝรั่งเศส (The French blue) หรือเพชรสีน้ำเงินแห่งมงกุฎ (The Blue Diamond of the Crown) พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงมอบเพชรนี้ ให้แก่มาดาม เดอ มงเตสปอง (Madam de Montespan) แต่ไม่นานหลังจากนั้น นางก็กลายเป็นที่เกลียดชังของราชสำนัก เพชรฝรั่งเศสสีน้ำเงินนี้ได้หายไปในเดือนกันยายน ค.ศ. 1792 จากการปล้นเพชรครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ ที่คลังเก็บสมบัติแห่งชาติ (The National Garde Meuble) ใน ค.ศ. 1812
บันทึกความทรงจำของจอห์น ฟรานซิลลอน (john Francillon) พ่อค้าเพชรชาวลอนดอน บันทึกไว้ว่า เพชรสีน้ำเงินหนัก 45.52 กะรัต ได้ปรากฏขึ้นในปี ค.ศ. 1830 ที่อังกฤษ โดย เดเนียล แอเลียสัน (Denial Eliason) พ่อค้าเพชรชาวลอนดอน เขาเปลี่ยนรูปแบบการเจียระไนเป็นรูปหมอน (cushion) และขายให้แก่เฮนรี ทอมัส โฮป (Henty Thomus Hope) นักการธนาคารชาวอังกฤษ ดังนั้นเพชรสีน้ำเงินจึงได้ชื่อใหม่ตามชื่อของเขาคือ เพชร “โฮป” และตกทอดสู่ ลอร์ดฟรานซิส เพลแฮม คลินตัน โฮป (Lord Francis Pelham Clinton Hope) ซึ่งเป็นพ่อของเขา แต่ท้ายที่สุดแล้วเขากลับล้มละลาย และเพชรก็ได้หายไปอีกครั้งหนึ่ง ต่อมาปีแยร์ การ์ตีเย (Pierre Cartier) พ่อค้าเพชรชาวปารีส ได้ขายเพชรโฮป ผ่านทางสุลต่านอับดุล-ฮามิด (Abdul – Hamid) ให้กับวิลเลียม แมกลีน (William Mclean) คนสำคัญในวงการหนังสือพิมพ์ และเพชรเม็ดนี้ก็ถูกนำไปที่สหรัฐอเมริกา แมกลีน ซึ่งเป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ ซื้อเพชรมาด้วยราคา 154,000 ดอลลาร์สหรัฐ ภรรยาของแมกลีน ต้องการให้พระทำพิธีล้างอาถรรพ์ในเพชรก่อน พิธีนี้จึงได้มีขึ้นและเธอก็ป่าวประกาศว่ามี “ฟ้าผ่าและฟ้าแลบในระหว่างพิธี” ด้วย หลังจากนั้นเธอจึงค่อยสวมใส่เพชรเม็ดนี้ โชคไม่ดีที่ดูเหมือนว่าคำสาปในเพชรยังคงมีอยู่ ใน ค.ศ. 1918 ลูกชายของแมกลีน อายุ 9 ขวบ พลัดหลงจากการดูแลของบรรดาเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย และถูกรถคันหนึ่งชนเสียชีวิต แมกลีนเสียใจมาก ดื่มแต่เหล้า และหลังจากนั้นไม่กี่เดือน ลูกสาวคนเดียวของพวกเขาก็ปลิดชีพตัวเองโดยใช้ยานอนหลับ

ใน ค.ศ. 1949 หลังจากที่ภรรยาของแมกลีนเสียชีวิตแล้ว แฮร์รี วินสตัน (Harry Winston) พ่อค้าเพชรชาวนิวยอร์ก ได้ซื้อเพชรโฮปไปด้วยราคา 180,000 ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อนำไปเพิ่มชุดสะสมส่วนตัวของเขา ใน ค.ศ. 1958 เอดนา วินสตัน (Edna Winston) ได้บริจาคเพชรเม็ดนี้ให้แก่สถาบันสมิทโซเนียนในกรุงวอชิงตัน ดีซี ซึ่งเป็นสถานที่จัดแสดงเพชรในปัจจุบัน มีผู้มาเยี่ยมชมมากมาย ที่หลงใหลในเพชรสีน้ำเงินไพลินและความแวววาว ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นเม็ดนี้

โดย แหวนเพชร

ใส่ความเห็น